สภาพความเป็นด่าง (Alkalinity)

♦ หน่วยที่นิยมใช้แสดงค่าความเป็นด่าง คือ มก./ลิตร ของ CaCO3

(แคลเซียมคาร์บอเนต หรือ หินปูน)

 

ความกระด้าง (Hardness)

♦ ความกระด้างของน้ำเป็นการวัดค่าความเข้มข้นของ แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก

แมงกานีส ส่วนโลหะชนิดอื่นพบได้น้อยมากจึงไม่นิยมมาพิจารณา

♦ น้ำที่มีความกระด้างเกิดจากโลหะที่มีไอออน +2 (โดยทั่วไปอยู่ในรูปของเกลือไบคาร์บอเนต)

♦ น้ำที่มีความกระด้างจะทำให้เกิดปัญหาดังนี้ :

* เกิดตะกรัน

* เกิดตะกอนแข็งติดที่ผิววัสดุ

เกิดสีเหลืองติดบนผ้า

ทำให้การซักฟอกไม่มีฟอง เป็นต้น

 

ความกระด้างของน้ำแบ่งได้ 2 ชนิด ขึ้นอยู่กับไอออนลบที่จับตัวกับ แคลเซียม และแมกนีเซียม

 

 

1. ความกระด้างชั่วคราว หรือความกระด้างคาร์บอเนต

 

(Temporary Hardness or Carbonate Hardness) Mg++, Ca++ รวมกับไอออนลบ

 

ที่เป็นพวก Alkalinity คือ HCO3¯(ไบคาร์บอเนต), CO3¯²(คาร์บอเนต), OH¯(ไฮดรอกไซด์)

 

กำจัดออกด้วยวิธี

 

♦ ต้มเพื่อให้เกิดการตกตะกอน (ใช้ได้เฉพาะน้ำที่มีแคลเซียม)

 

Ca(HCO3)2 แคลเซียมไบคาร์บอเนต + ความร้อน »»CaCO3 (ตะกอน)– CO2 + H2O

 

♦ ถ้าเกิดตะกรันให้แช่ด้วยกรดทั่วไป ถ้าล้างออกหมายถึง ตะกรันเกิดจากน้ำกระด้างชั่วคราว

 

♦ เติมปูนขาว และ/หรือ คาร์บอนไดออกไซด์

 

 

2. ความกระด้างถาวร หรือความกระด้างไม่มีคาร์บอเนต

 

(Permanent Hardness or Noncarbonate Hardness) Mg++, Ca++ รวมกับไอออนลบ

 

ที่เป็นพวก SO4¯²(ซัลเฟต), Cl¯(คลอไรด์), NO3¯(ไนเตรต)

 

กำจัดออกด้วยวิธี

 

♦ เติมโซเดียมคาร์บอเนต หรือเรียกว่า Soda Ash และปูนขาว ถ้าน้ำมีแมกนีเซียมปนอยู่ด้วย

 

อาจต้องเติมคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่ม

 

♦ Ion Exchange ที่ใช้พวก Silicate เรียกว่าเครื่อง Zeolite Exchanger เพื่อกำจัด

 

ไอออนบวกของ Ca++, Mg++ …..

 

 

หมายเหตุ

 

น้ำที่มีน้ำทะเล หรือน้ำกร่อยแทรกเข้ามาทำให้มีปริมาณโซเดียมมากเกินปกติ(เกิดฟองสบู่ยาก)

 

คล้ายกับน้ำมีความกระด้างมากซึ่งความเป็นจริงอาจมีความกระด้างต่ำ ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า

 

ความกระด้างเทียม (Pseudo Hardness)

 

* โซเดียมไม่ทำให้เกิดความกระด้างเพราะโซเดียมมีไอออนบวกเดียว (+) เท่านั้น

 

 

Visitors: 201,057