การเตรียมน้ำบริสุทธิ์เพื่อการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
แนวทางปฏิบัติเรื่อง
“ การเตรียมน้ำบริสุทธิ์เพื่อการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ”
โดย สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ฉบับปี 2550
แนวทางปฏิบัติ
1. คุณภาพน้ำบริสุทธิ์ที่ใช้ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
2. การตรวจสอบคุณภาพน้ำบริสุทธิ์
3. การติดตั้งระบบผลิตน้ำน้ำบริสุทธิ์
4. การวางระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์
5. การบำรุงรักษาระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์
6. การบำรุงรักษาระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์
หมายเหตุ:
· แนวทางปฏิบัติฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายใช้สำหรับการเตรียมน้ำบริสุทธิ์เพื่อการทำ
Conventional Hemodialysis ซึ่งเป็นการฟอกเลือดชนิดพื้นฐานที่ใช้รักษาผู้ป่วยในศูนย์ไตเทียมเป็นส่วนใหญ่
มิได้ครอบคลุมถึง Hemodiafiltration และ On-line hemofiltration หรือ On-line hemodiafiltration
· แนวทางปฏิบัติที่ใช้คำว่า “ต้อง” เป็นแนวทางปฏิบัติที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ถือเป็นมาตรฐาน
ที่สำคัญ และต้องปฏิบัติตาม ส่วนแนวทางปฏิบัติที่ใช้คำว่า “ควร” เป็นแนวทางปฏิบัติที่อาจยังไม่จำเป็น
ต้องปฏิบัติตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของศูนย์ไตเทียม แต่ถ้าศูนย์ไตเทียมสามารถปฏิบัติตามได้
จะทำให้ได้คุณภาพของระบบการเตรียมน้ำบริสุทธิ์ดียิ่งขึ้น
1. คุณภาพน้ำบริสุทธิ์ที่ใช้ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ต้อง |
ควร |
ปริมาณ bacteria และ endotoxin · ต้องมีจำนวนแบคทีเรียในน้ำบริสุทธิ์ น้อยกว่า 100 CFU/mL · เมื่อนำไปผสมกับ dialysate concentrate จำนวนแบคทีเรียใน dialysate ที่ผสมแล้วต้องมี จำนวนน้อยกว่า 100 CFU/mL · สำหรับ hemofiltration หรือ on-line hemofiltration หรือ on-line hemodiafiltration ต้องใช้น้ำบริสุทธิ์ระดับ ultra-pure ซึ่งมีแบคทีเรีย น้อยกว่า 0.1 CFU/mL และ endotoxin น้อยกว่า 0.03 EU/mL · มีปริมาณสารปนเปื้อนไม่เกินค่าสูงสุดที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของ AAMI 2006
|
· ควรกำหนดจำนวนแบคทีเรียที่ต้อง เริ่มดำเนินการแก้ไข (action level) ไว้ที่ 50 CFU/mL · ควรมีปริมาณ endotoxin น้อยกว่า 0.25 EU/mL · ควรกำหนดปริมาณ endotoxin ที่ต้องเริ่มดำเนินการแก้ไข (action level) ไว้ที่ 0.125 EU/mL
|
2. การตรวจสอบคุณภาพน้ำบริสุทธิ์
2.1 การตรวจหาจำนวนแบคทีเรียปนเปื้อน โดยวิธีเพาะเชื้อ |
|
· ต้องเก็บตัวอย่างน้ำบริสุทธิ์ส่งเพาะเชื้อเป็น ประจำทุกเดือนและให้เก็บตัวอย่างก่อนการอบฆ่าเชื้อ ในระบบน้ำบริสุทธิ์ และ/หรือในเครื่องไตเทียม · ต้องส่งตัวอย่างน้ำบริสุทธิ์ ตรวจหาปริมาณ endotoxin ทุกเดือน กรณีที่เป็น hemofiltration หรือ on-line hemofiltration หรือ on-line hemodiafiltration · ตำแหน่งที่ต้องส่งตรวจเป็นเป็นประจำ ทุกเดือน ได้แก่ - ต้นทางของระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์ - ปลายทางของระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์ - จุดจ่ายน้ำสำหรับใช้ล้างและเตรียมตัวกรองเลือด สำหรับใช้ซ้ำ - จุดจ่ายน้ำเพื่อใช้เตรียมน้ำยาไตเทียม-เข้มข้น · Dialysate ของเครื่องฟอกแต่ละเครื่อง ต้อง ได้รับการส่งตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง · ตำแหน่งที่เคยพบแบคทีเรียมากกว่าที่กำหนด ต้องส่งตรวจซ้ำใหม่หลังดำเนินการแก้ไขจนกระทั่ง ผลอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด · กรณีติดตั้งระบบน้ำบริสุทธิ์ใหม่ ต้องเก็บ ตัวอย่างน้ำบริสุทธิ์เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของน้ำที่ได้ · ต้องใช้ trypticase soy agar เป็น media ใน การเพาะเชื้อ
|
· ควรส่งตัวอย่างน้ำบริสุทธิ์ตรวจหา ปริมาณ endotoxin เป็นประจำอย่างน้อย ทุก 3 เดือน · ควรใช้วิธี membrane filtration ในการใช้เทคนิคการเพาะเชื้อ
|
2.2 การตรวจหาสารปนเปื้อนทางเคมี |
|
· ต้องเก็บตัวอย่างน้ำบริสุทธิ์ที่ผลิตได้ส่งตรวจหา สารต่างๆตามมาตรฐาน AAMI 2006 หลังจากนั้นให้ส่ง ตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และเมื่อมีเหตุให้สงสัยเกี่ยว กับความบริสุทธิ์ของน้ำ
|
|
3. การติดตั้งระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์
3.1 การเตรียมน้ำดิบ |
|
· บริษัทผู้ติดตั้งระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ต้องตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบ และนำเสนอข้อมูลการออกแบบระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ให้ศูนย์ไตเทียมทราบ |
· ควรมีถังสำรองน้ำดิบซึ่งมีลักษณะปิดทึบ แสงส่องผ่านไม่ได้ และควรตั้งอยู่ในที่ร่ม
|
3.2 ระบบกรองน้ำเบื้องต้น (pre-treatment) |
|
· ต้องมีชุดลดความกระด้าง (softener) ของ น้ำดิบก่อนป้อนเข้าสู่ชุด RO เพื่อป้องกันการอุดตัน ในแผ่นกรอง RO · ต้องมีชุดผงกรองคาร์บอน (carbon filter) เพื่อดักจับสารคลอรีนหรือคลอรามีนไม่ให้หลุดเข้าไป สัมผัสแผ่นกรอง RO · ผงคาร์บอนที่ใช้ต้องเป็นชนิด granular activated carbon มีค่า iodine number มากกว่า 900 และต้องจัดวางถังคาร์บอนในลักษณะวางต่อแบบ อนุกรม แต่ละถังต้องมีค่า empty-bed contact time (EBCT) อย่างน้อย 5 นาที (รวม 2ถัง 10นาที) · ต้องมีหัวจ่ายน้ำหลังถังคาร์บอนแต่ละถัง เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำตรวจหาปริมาณคลอรีนและ คลอรามีนในน้ำที่ไหลผ่านออกจากถังคาร์บอนแต่ละถัง · ต้องมี pre-RO filter ขนาด 5 ไมครอน ติดตั้งต่อจากชุดกรองน้ำเบื้องต้นเพื่อดักจับผง คาร์บอนหรือตะกอนแขวนลอยอื่นๆไม่ให้เข้าสู่ชุด RO · ต้องมีมาตรวัดแรงดันน้ำแสดงให้เห็นตรง ตำแหน่งขาเข้า และขาออกของชุดกรองแต่ละชุด
|
· ควรมี multimedia filterหรือ particle filter หรือ cartridge filter เพื่อกรองตะกอน ขนาดใหญ่ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ
|
3.3 ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ |
|
· ต้องใช้ระบบ RO เป็นระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ไม่ ควรใช้ระบบ DI เป็นระบบหลัก · ต้องมีระบบสัญญาณแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุขัดข้อง เกิดขึ้นในระบบ RO ทำให้ไม่สามารถผลิตน้ำบริสุทธิ์ได้ ตามที่กำหนด
|
· อาจใช้ DI เป็นชุดเสริมต่อจากชุด RO ได้ เพื่อลดปริมาณสารเคมี (ชนิดมีประจุอิออน) ปนเปื้อนน้อยลง หรืออาจใช้ DI เป็นชุดสำรองกรณี เกิดปัญหาขัดข้องในระบบ RO
|
4. การวางระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์
4.1 ถังเก็บน้ำบิรสุทธิ์ |
|
ระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์ที่มีถังเก็บน้ำบริสุทธิ์ (indirect feed) ถังเก็บน้ำบริสุทธิ์ควรมีลักษณะดังนี้
· ถังเก็บน้ำต้องทำด้วยวัสดุผิวเรียบและไม่เกิด สนิม เช่น สเตนเลสเกรด 316 โพลีโพรไพลีนคุณภาพ สูง โพลีเอทีลีน เป็นต้น · ถังเก็บน้ำต้องมีฝาปิดสนิทและต้องมีตัวกรอง ขนาดไม่โตกว่า 0.2 ไมครอน ติดตั้งไว้ที่รูระบายอากาศ สำหรับดักกรองแบคทีเรีย · ต้องมีระบบสัญญาณแจ้งเตือนเมื่อระดับน้ำใน ถังต่ำกว่าที่กำหนด
|
· ขนาดถังควรมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะ เป็นไปได้ โดยพิจารณาจากปริมาณ น้ำบริสุทธิ์สำรอง · ก้นถังควรเป็นรูปทรงกรวย ไม่แบนราบ · รูเปิดจ่ายน้ำควรอยู่ที่ตำแหน่งต่ำสุดของ ก้นถังเพื่อให้น้ำบริสุทธิ์ที่เก็บไว้ในถังมีการไหล เวียนออกไปใช้ได้หมดไม่มีตกค้างในถัง
|
4.2 ปั๊มจ่ายน้ำ |
|
· ต้องทำด้วยสเตนเลสหรือวัสดุอื่นที่มีคุณภาพ สูงทนการกัดกร่อน และไม่เป็นสนิม |
· ควรมีปั๊มจ่ายน้ำอย่างน้อย 2 ตัว เพื่อสลับ ใช้งานและควรเปิดปั๊มให้น้ำมีการไหลวนใน ระบบจ่ายน้ำตลอด 24 ชั่วโมง
|
4.3 ท่อจ่ายน้ำ |
|
· ท่อจ่ายน้ำ ข้อต่อและวาล์ว ต้องทำด้วยวัสดุผิว เรียบ ไม่เป็นสนิม เช่นสเตนเลสเกรด 316 โพลีโพรไพ ลีนคุณภาพสูง โพลีเอทีลีน โพลีเอทีลีนชนิด cross- linked (PEX) โพลีไวนีลคลอไรด์ชนิด U-PVC หรือ C-PVC เป็นต้น · การเดินท่อจ่ายน้ำต้องเป็นลักษณะไหลวนกลับ (recirculating loop) ท่อไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไป · ความเร็วในการจ่ายน้ำที่กำหนดคือไม่ต่ำกว่า 1.5 ฟุตต่อวินาที ในระบบจ่ายน้ำแบบไม่มีถังเก็บ น้ำบริสุทธิ์ (direct feed)หรือไม่ต่ำกว่า 3 ฟุตต่อวินาที ในระบบจ่ายน้ำที่มีถังเก็บน้ำบริสุทธิ์ · ท่อจ่ายน้ำสำหรับล้างตัวกรองเพื่อนำมาใช้ซ้ำ ต้องมีการติดตั้งวาล์วน้ำทิศทางเดียว (check valve) เพื่อป้องกันน้ำไหลย้อนกลับเข้าสู่ระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์
|
· ไม่ควรเดินท่อจ่ายน้ำในระบบยาวเกิน ความจำเป็น หลีกเลี่ยงการเดินท่อลักษณะหักมุม และมีข้อต่อมากหรือมีท่อปลายปิดหรือแนวท่อ ที่มีการเปลี่ยนระดับขึ้นลงในลักษณะซึ่งอาจทำ ให้มีอากาศค้างในท่อได้
|
4.4 ระบบดักกรองและฆ่าเชื้อโรค |
|
· ในระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์ที่มีถังเก็บน้ำบริสุทธิ์ต้อง มีระบบดักกรอง และฆ่าเชื้อโรคในระบบจ่ายโดยใช้ submicron filter หรือ ultrafilter เพื่อดักจับเชื้อโรค และใช้ ultraviolet irradiator เพื่อฆ่าเชื้อโรค ให้ติดตั้ง filter ที่ต้นทางและปลายทางของระบบ จ่ายน้ำ เพื่อดักกรองแบคทีเรียในน้ำบริสุทธิ์ก่อนจ่าย ให้เครื่องฟอกเลือดและก่อนไหลกลับเข้าถังเก็บ น้ำบริสุทธิ์ตามลำดับ · ต้องมีชุด ultraviolet irradiator อย่างน้อย 1 ชุด ที่ต้นทางของระบบจ่ายน้ำในตำแหน่งหน้าต่อ submicron filter หรือ ultrafilter · ชุด ultraviolet irradiator ต้องมีความเข้ม แสง UVไม่น้อยกว่า 30 milliwatt-sec/cm2
|
· ในระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์ที่ไม่มีถังเก็บน้ำ บริสุทธิ์ อาจไม่จำเป็นต้องมีระบบดักกรอง หรือ ฆ่าเชื้อโรค
|
4.5 ระบบเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ |
|
· ต้องมีเครื่องวัดความบริสุทธิ์ของ (conductivity meter หรือ resistivity meter หรือ TDS meter) ชนิด on-line ติดตั้งในระบบจ่าย น้ำบริสุทธิ์ · ถ้าใช้ชุดเสริม DI ต้องมีการติดตั้งระบบแจ้ง สัญญาณเตือนเมื่อคุณภาพน้ำของน้ำที่ผลิตได้ต่ำกว่าที่ ผู้ใช้กำหนด เพื่อเตือนให้ผู้ใช้ทราบถึงกำหนดเวลาต้อง ฟื้นสภาพ (regenerate) สารกรองชุด DI
|
|
5. การบำรุงรักษาระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์
5.1 ระบบน้ำดิบ |
|
|
· ควรตรวจสอบปริมาณน้ำในถังสำรอง น้ำดิบ (ถ้ามี) เป็นประจำทุกวัน · ควรตรวจสอบการทำงานของปั๊มน้ำดิบ และทิศทางของวาล์วน้ำก่อนเริ่มใช้งานเป็น ประจำทุกวัน · ควรมีการตรวจสอบสภาพน้ำดิบเป็น ประจำอย่างน้อยทุก 2 เดือนหรือเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงแหล่งน้ำดิบหรือเมื่อมีปัญหาเกี่ยว กับคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ที่ผลิตได้ดังนี้ - ตรวจสภาพความขุ่นน้ำ - ตรวจความเป็นกรดด่าง (pH ควรมีค่า ระหว่าง 6.8-8.5) - ตรวจความกระด้าง (ควรน้อย กว่า 500 mg/L) - ตรวจปริมาณคลอรีน ( ควรมีค่าคลอรีน อิสระอย่างน้อย 0.3 mg/L) ถ้าตรวจไม่พบสาร คลอรีนในน้ำดิบควรพิจารณาความจำเป็นในการ เติมคลอรีนเพิ่มในน้ำดิบก่อนป้อนเข้าสู่การ กรองเบื้องต้น · ในกรณีที่มีการติดตั้งปั๊มคลอรีนควรตรวจ สอบการทำงานของปั๊มคลอรีนทุกวัน
|
5.2 ชุดกรองตะกอน (particle filter หรือ multimedia filter) |
|
· ถ้าการล้าง filter เป็นระบบอัตโนมัติ (auto backwash) ต้องตรวจสอบความ ถูกต้องของนาฬิกาตั้งเวลาทุกวัน |
· ควรตรวจสอบและบันทึกค่าแรงดันน้ำด้าน ขาเข้าและขาออกของชุดกรองตะกอนทุกวัน ถ้ามี ค่าต่างกันมากกว่า 10psi ควรพิจารณาแก้ไขโดย การล้างหรือเปลี่ยนตัวกรองใหม่ · ควรเปลี่ยน particle filter เป็นประจำทุก เดือน ถ้าเป็น multimedia filter หรือ sand filter ควรทำการล้างแบบ back wash ทุกวัน
|
5.3 ชุดลดความกระด้าง |
|
· ถ้าแรงดันน้ำขาเข้าและขาออกลดลงต่ำกว่าที่ กำหนดต้องดำเนินการแก้ไข · ต้องตรวจและบันทึกค่าความกระด้างของน้ำที่ ไหล-ผ่านออกจากชุดลดความกระด้างเป็นประจำทุก วัน และควรตรวจในช่วงเวลาสิ้นสุดการบริการผู้ป่วย แต่ละวันเพื่อดูรอบของการฟื้นสภาพสารกรอง · สำหรับศูนย์ไตเทียมที่ให้บริการผู้ป่วยจำนวน ไม่มาก อาจไม่จำเป็นต้องตรวจทุกวันแต่อย่างน้อยต้อง ตรวจทุกสัปดาห์ · ต้องมีการฟื้นสภาพสารกรอง โดยการล้างแช่ ด้วยน้ำเกลือเข้มข้นอย่างน้อยทุกสัปดาห์ หรือเร็วกว่านั้น · ในขณะฟื้นสภาพสารกรองต้องให้วาล์วน้ำ หลังชุดลดความกระด้างอยู่ในตำแหน่งระบาย น้ำทิ้งเพื่อป้องกันโซเดียมไม่ให้เล็ดลอดเข้าสู่ ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ · กรณีที่ใช้ระบบฟื้นสภาพสารกรองอัตโนมัติ ต้องตรวจสอบความถูกต้องของนาฬิกาตั้งเวลาทุกวัน และตรวจสอบปริมาณเกลือในถังที่ใช้ฟื้นสภาพด้วย · เปลี่ยนสารกรองในชุดลดความกระด้างตาม กำหนดหรือเมื่อเสื่อมสภาพ หมดอายุการใช้งาน
|
· ควรตรวจสอบและบันทึกค่าแรงดันน้ำด้าน ขาเข้าและขาออกของชุดลดความกระด้างทุกวัน
|
5.4 ชุดผงกรองคาร์บอน |
|
· ถ้าแรงดันน้ำขาเข้าและขาออกลดลงต่ำ กว่าที่กำหนดต้องดำเนินการแก้ไข · ต้องล้างตะกอนในชุดผงกรองคาร์บอน โดยวิธี backwash เป็นประจำทุกวัน ถ้าใช้ระบบ การล้างแบบอัตโนมัติ ต้องตรวจสอบความถูก ต้องของนาฬิกาตั้งเวลาทุกวัน · ต้องตรวจวัดปริมาณคลอรีนในน้ำที่ไหล ผ่านออกจากถังคาร์บอนถังแรกก่อนเริ่มให้ บริการผู้ป่วยเป็นประจำทุกวันหรืออย่างน้อย ทุกสัปดาห์ · ถ้าปริมาณคลอรีนหรือคลอรามีนมาก กว่าที่กำหนดในถังแรก ให้สลับคาร์บอนถังที่ 2 มาอยู่ในตำแหน่งถังแรกแทนและนำคาร์บอน ถังใหม่มาอยู่ในตำแหน่งแทนคาร์บอนถังที่ 2
|
· ควรตรวจสอบและบันทึกค่าแรง ดันน้ำขาเข้าและขาออกของชุดผงกรอง คาร์บอนทุกวัน
|
5.5 ชุด RO |
|
· ต้องตรวจสอบและบันทึกค่าแรงดันน้ำขา เข้าและขาออกของชุด pre-RO filter เป็นประจำ ทุกวัน · ต้องตรวจสอบและบันทึกคุณภาพน้ำที่ ผลิตได้จากชุด RO โดยตรวจค่า conductivity หรือ resistivity หรือ percent solute rejection เป็นประจำทุกวัน · ต้องตรวจสอบและบันทึกค่าแรงดันและ อัตราการไหลของน้ำในชุด RO เป็นประจำทุกวัน เพื่อเฝ้าระวังการอุดตันของแผ่นกรอง RO · แรงดันที่ต้องตรวจสอบคือ feed water pressure และ final pressure · อัตราการไหลของน้ำที่ต้องตรวจสอบ คือ product water flow (permeate flow) และ drain water flow (concentrate flow) นำไปคำนวณเป็น percent recovery rate · เปลี่ยนแผ่นกรอง RO ใหม่เมื่อครบอายุ การใช้งานตามกำหนด |
· ถ้าพบว่าแรงดันขาเข้าและขาออกลดลง มากกว่าที่-กำหนดแสดงว่ามีการอุดตัน ควร เปลี่ยน pre-RO filter ใหม่ · ถ้าพบว่า recovery rate ลดลง ควรมี การล้างหรือเปลี่ยนแผ่นกรอง RO ใหม่ โดยช่าง ผู้ชำนาญ
|
5.6 ชุด DI |
|
· ต้องตรวจสอบและบันทึกคุณภาพน้ำที่ได้จาก ชุด DI โดยกายการตรวจค่า conductivity หรือ resistivity เป็นประจำทุกวัน · ต้องมีการตั้งสัญญาณแจ้งเตือนค่า conductivity หรือ resistivity ไว้ตลอดเวลาที่ให้ บริการเพื่อเตือนให้มีการฟื้นสภาพสารกรองก่อนที่ คุณภาพน้ำจะลดลงต่ำกว่าที่กำหนดไว้ · ถ้าพบว่าชุด DI มีการอุดตันต้องทำการล้าง โดยวิธี backwash · เปลี่ยนสารกรองในชุด DI เมื่อหมดการใช้งาน
|
· ควรตั้งสัญญาณเตือนค่า conductivity ที่ 1 microsiemen/cm หรือค่า resistivity ที่ 1megaOhm-cm · ควรตรวจสอบการอุดตันในชุด DI โดยตรวจดูความแตกต่างของแรงดันน้ำ ด้านขาเข้าและขาออกจากชุด DI เป็น ประจำทุกวัน
|
6. การบำรุงรักษาระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์
6.1 Filter |
|
· ต้องเปลี่ยน bacteria filter (0.2 ไมครอน) อย่างน้อยทุก 6 เดือน และเปลี่ยนทุกครั้งเมื่อมีการอบ ฆ่าเชื้อในระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์ หรือเมื่อเห็นว่า filter สกปรกหรืออุดตันโดยสังเกตจากความแตกต่างของ แรงดันน้ำขาเข้าและออกของ filter · เมื่อพบว่ามีความแตกต่างของแรงดันน้ำทั้งสอง ด้านมากกว่า 10 psi ต้องเปลี่ยน filter จุดนั้นใหม่
|
· ควรตรวจสอบบันทึกค่าแรงดันน้ำด้านขา เข้าและขาออกของ filter ต่างๆ ที่อยู่ในระบบ จ่ายน้ำบริสุทธิ์เป็นประจำทุกวัน · ควรเปลี่ยนตัวกรองแบคทีเรียที่รูระบาย อากาศของถัง-เก็บน้ำบริสุทธิ์ปีละครั้งหรือ บ่อยกว่าถ้าอยู่ในที่มีฝุ่นละอองมาก
|
6.2 ปั๊มน้ำ |
|
· ตรวจสอบการเริ่มทำงาน และการ หยุดทำงานของปั๊มทุกวัน · ตรวจสอบความผิดปกติของปั๊มขณะที่ ปั๊มทำงาน · ตรวจสอบการรั่วซึมของปั๊ม
|
|
6.3 การฆ่าเชื้อในระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์ |
|
· เปลี่ยนหลอดไฟ ultraviolet ตามระยะเวลาที่ กำหนด หรือตามการเสื่อมสภาพ · ต้องมีการอบฆ่าเชื้อในระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์ อย่างน้อยทุก 6 เดือน และต้องทำก่อนครบกำหนด · หากพบจำนวนแบคทีเรียหรือ endotoxin ใน ระบบจ่ายน้ำบริสุทธิ์มากกว่า 200 CFU/mL หรือ 2 EU/mL ตามลำดับ วิธีการอบฆ่าเชื้อในระบบจ่ายน้ำ ต้องทำตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ของแต่ละวิธีการ และ ต้องมีการล้างตรวจสอบจนกว่าจะไม่พบสารที่ใช้ฆ่าเชื้อ โรคเหลือตกค้างอยู่ในระบบน้ำบริสุทธิ์ก่อนนำน้ำ บริสุทธิ์ไปใช้
|
|